การต่อต้านการก่อการร้าย


โครงการความร่วมมือระหว่าง
ศุลกากรสหรัฐอเมริกากับภาคธุรกิจเอกชนเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย

(SCAN)

 

การก่อวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรดในสหรัฐอเมริกาของกระบวนการก่อการร้าย เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2544  (9-11) ทำให้สหรัฐอเมริกามีความตื่นตัวเกี่ยวกับการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการแอบแฝงมาในการขนส่งสินค้าทุกชนิดเข้าสู่ประเทศ ดังนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงออกมาตรการต่างๆ เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย โดยศุลกากรสหรัฐอเมริกาได้ออกมาตรการทางด้านศุลกากรที่เรียกว่า C-TPAT  ในเดือนพฤศจิกายน 2544

        

 

 

    ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตามมาตรฐาน C-TPAT    
    Benefits for Adopting C-TPAT Standards    

1. ลดขั้นตอนการตรวจสินค้าได้ 6 เท่า
2. ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อตู้คอนเทนเนอร์
3. ไม่ต้องรอตรวจนานถึง 3 วัน และไม่ต้องเปิดตู้ตรวจ
4. ทำให้บริษัทได้ทราบว่ามาตรการความปลอดภัยของตนเองมีข้อบกพร่องและต้องแก้ไขอย่างไร
5. ทำให้การเกิดความมั่นใจแก่คู่ค้า คู่ธุรกิจว่าสินค้าที่นำเข้าประเทศสหรัฐอเมริกามีความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐาน C-TPAT ของศุลกากรสหรัฐอเมริกา

 

    ความปลอดภัยด้านบุคลากร – Personnel Security    

  • มีขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์
  1. อักษรในการสรรหาว่าจ้างบุคลากร 
  2. การจัดการเมื่อสิ้นสภาพการจ้าง 
  3. การย้าย/เปลี่ยนพื้นที่ปฏิบัติงาน /
  4. ตำแหน่งงาน และการทบทวนเอกสาร
  • วิธีการสรรหาว่าจ้างบุคลากร การตรวจสอบประวัติปูมหลัง ประวัติอาชญากร/ สารเสพติด ตรวจสอบประวัติกับบุคคลอ้างอิง สำหรับผู้สมัครและพนักงานเป็นระยะ
  • การบ่งชี้บุคคล – บัตรพนักงาน/ ชุดยูนิฟอร์ม หรืออื่นๆ และการควบคุม
  • การติดบัตรตลอดเวลาที่อยู่ในสถานประกอบการ

 

    ความปลอดภัยด้านกายภาพ – Physical Security    

  • สภาพความปลอดภัยของอาคาร/สถานที่ แนวรอบรั้ว กำแพง ประตู หน้าต่าง ฝาท่อ ระบบการล็อค แสงสว่างภายใน-นอกอาคาร ทางเข้า-ออก ถังขยะ พื้นที่จอดรถ ระบบไฟสำรอง กล้องวงจรปิด (CCTV) สัญญาณแจ้งการบุกรุก และบันทึกการตรวจสภาพความปลอดภัย
  • มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง
  • การตรวจสภาพพื้นที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเป็นระยะ และบันทึก
  • ประตู หน้าต่าง รั้ว มีระบบการล็อค – การควบคุมจัดการกุญแจ และบันทึก
  • สภาพพื้นที่จอดรถพนักงาน/ ผู้มาติดต่อ/ ส่งของ/ พื้นที่เก็บตู้คอนเทนเนอร์
  • การจัดการกิ่งไม้ ต้นไม้ สิ่งปลูกสร้างที่ยื่นเข้ามาและออกนอกบริเวณรั้ว

 

    การควบคุมการเข้าออก – สิทธิการเข้าถึง    
    Physical Access Control    

  • มีขั้นตอนปฏิบัติการควบคุมการเข้า-ออกของพนักงาน ผู้มาติดต่อ ผู้มาส่งของ/สินค้า ตู้คอนเทนเนอร์ (การแสดงบัตรทางราชการ/ บัตรพนักงาน) การบันทึกการเข้า-ออก
  • การดูแลโดยเจ้าหน้าที่ตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่ 
  • การติดสติกเกอร์รถพนักงาน แผ่นป้ายรถผู้มาติดต่อ
  • การตรวจสอบพัสดุภัณฑ์ เอกสาร จดหมาย
  • การตรวจสอบยานพาหนะ สิ่งของก่อนเข้า-ออกสถานที่
  • การควบคุมจัดการการเข้า-ออกพื้นที่เก็บวัตถุดิบ คลังสินค้า บรรจุสินค้า โหลดสินค้า และตู้คอนเทนเนอร์
  • มีขั้นตอนปฏิบัติการจัดการบุคคลแปลกหน้า บ่งชี้ไม่ได้ ผู้ไม่มีอำนาจ ผู้บุกรุกเข้าสถานที่/พื้นที่

 

    การควบคุมข้อมูล เอกสาร & อิเลคโทรนิค    
    Information Security    

  • มีขั้นตอนปฏิบัติบ่งชี้ว่าพนักงานส่วนใด/ บุคคลใดสามารถเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลเอกสารได้ในด้านใด
  • ระบบป้องกันการเข้าถึงข้อมูลเอกสาร รวมทั้งคอมพิวเตอร์ (ระบบการควบคุมเอกสาร/ Firewall หรือระบบแจ้งเตือนเมื่อมีการเข้าถึงข้อมูล การตั้งรหัสผ่านและการเปลี่ยนรหัสเป็นระยะ ระบบล็อคหน้าจออัตโนมัติ ระบบบันทึกข้อมูลฯ)
  • การสำรองข้อมูล การกู้ข้อมูล
  • บทลงโทษทางวินัยสำหรับการฝ่าฝืนการใช้งาน

 

    การจัดการสินค้า – ความปลอดภัยของตู้คอนเทนเนอร์ รถพ่วง ซีล    
    Procedural Security – Container/Trailer/Seal Security    

  • การตรวจสอบความถูกต้องของสินค้า น้ำหนัก ปริมาณขาด/เกิน
  • การจัดการกับความผิดปกติของสินค้า
  • การตรวจตู้คอนเทนเนอร์ 7 จุด ความปลอดภัยของรถพ่วง ซีล และบันทึก
  • การควบคุมกำกับดูแลการบรรจุสินค้าขึ้นตู้คอนเทนเนอร์
  • การบ่งชี้บุคคลในการบรรจุสินค้าขึ้นตู้คอนเทนเนอร์
  • การควบคุม-จัดการซีล การบันทึกความผิดปกติของซีล การบันทึกรับ-จ่าย
  • ซีลที่ใช้ได้ตามมาตรฐาน ISO/PAS 17712
  • การควบคุมการขนส่ง (ระยะทาง เส้นทางขนส่ง เวลาเดินทาง การติดตาม)

 

    การฝึกอบรมให้ความรู้ ความตระหนักต่อภัยคุกคาม    
    Security & Threat Awareness Training    

  • มีโปรแกรมการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้พนักงานใหม่  และพนักงานประจำเป็นระยะ (การสมคบคิดภายใน การแจ้งรายงานผู้บุกรุก บ่งชี้ไม่ได้ การกระทำผิดกฎหมาย ความผิดปกติของสินค้า วัตถุดิบ การฝ่าฝืน การทำผิดด้านไอที การรายงานสภาพชำรุด ความผิดปกติด้านกายภาพ การพบวัตถุต้องสงสัย อันตรายสิ่งผิดกฎหมาย และการรายงานทางลับ) และบันทึกการฝึกอบรม
  • การอบรมเฉพาะกลุ่มตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน (ฝ่ายบุคคล ไอที พนักงานขับรถ พนักงานโหลดสินค้า บรรจุสินค้า พนักงานตรวจสอบจดหมาย พัสดุภัณฑ์ รปภ.)
  • การให้เอกสารความรู้นโยบาย ขั้นตอนการปฏิบัติด้านความปลอดภัยให้พนักงาน
  • การติดประกาศนโยบาย ขั้นตอนการปฏิบัติ วิธีการปฏิบัติด้านความปลอดภัยในพื้นที่
  • การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการดูแล และให้ข้อมูลด้านความปลอดภัย โดยการให้เงินรางวัลจูงใจ (Incentive)

 

    การรายงานเหตุการณ์/สิ่งผิดปกติ    
    Security Reporting    

       เมื่อพบเห็นเหตุการณ์/สิ่งผิดปกติต่างๆ  ตามที่ได้กำหนดในข้างต้นหรือเหตุการณ์ผิดปกติอื่นให้พนักงานรายงานทันทีต่อ

  1. หัวหน้างาน
  2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 
  3. ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล

      โดยการแจ้งด้วยวาจา ทางโทรศัพท์ หรือการแจ้งทางลับ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่บริษัทฯ  เพื่อบันทึกเป็นหลักฐานในการดำเนินการต่อไป