นโยบายทางด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ การต่อต้านการให้และรับสินบน


บริษัท ยูนิเวอร์แซลโพลีแบคจำกัด (“บริษัทฯ”) ได้ตระหนัก ถึง ความสำคัญของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่อง การกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัท ฯ  จะ ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และ เป็นธรรม และ บริษัท ฯ มุ่งมั่นที่จะ การดำเนินธุรกิจภายใต้ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ของท้องถิ่น และ ในระดับสากล รวมถึง มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ต่าง ๆ  เกี่ยวกับการต่อต้านการให้และรับสินบน การต่อต้านคอร์รัปชั่น และ การทุจริตทุกรูปแบบโดยบริษัท ฯ ไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นใดๆ ทั้งสิ้น(Zero Tolerance) 

 

โดย กำหนดให้ บริษัท ฯ และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง กับ การดำเนินธุรกิจของบริษัท  ฯ จะต้อง ปฏิบัติตามนโยบายทางด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ การป้องกัน การให้ และ รับสินบน การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ อย่างเคร่งครัด  และ นโยบายนี้ มีผล ครอบคลุม ในทุกหน่วยงานขององค์กร 

 

ทั้งนี้ บริษัท ฯ ได้มีการกำหนดบทลงโทษทางวินัยสูงสุด แก่ ผู้ที่กระทำ ความผิด ดังกล่าว และ เพื่อความชัดเจนในการดำเนินการใน เรื่องที่มีความเสี่ยงสูง กับ การทุจริตคอร์รัปชั่น กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร และ พนักงานทุกระดับต้องปฏิบัติงาน ด้วยความระมัดระวัง และ ยึดถือ เป็น แนวทางในการปฏิบัติ เพื่อป้องกัน และ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น การฉ้อโกง การรับ หรือ ให้สินบนในทุกรูปแบบ ของบริษัท ฯ โดยมีแนวทาง ดังต่อไปนี้

1.การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

บริษัทจะปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือ กฎหมายสากล และ กฎหมายท้องถิ่นอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกฎหมายแรงงาน กฎหมายคนเข้าเมือง กฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

2.ใบอนุญาต และ การได้รับอนุญาต

บริษัท ฯ จะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง ใบอนุญาตด้านสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึง ใบอนุญาต ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ของบริษัท 

 

3.การแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ทางด้านการเงิน

บริษัท ฯ จะทำการบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการเงิน ระหว่าง บริษัท กับ ลูกค้า ระหว่างบริษัท กับ บริษัทคู่ค้า หรือ ระหว่างบริษัท กับ หน่วยงานราชการต่าง  ๆ และ เก็บบันทึกเหล่านั้นไว้ ทั้งนี้ บริษัท ฯ จะดำเนินการจัดทำบันทึกต่าง ๆ ทางด้านบัญชี ให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี ที่รับรองโดยทั่วไป หรือ มาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศ

4.ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยประยุกต์ใช้กับทุก กระบวนการและทุก กิจกรรมของบริษัท

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม, บริษัท ฯ จะจัดให้มีระบบการติดตามตรวจวัดสิ่งแวดล้อมที่มีเกณฑ์ในการวัดที่แม่นยำ

การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ, บริษัท ฯ จะกำหนดลักษณะ และ เก็บบันทึกรายการน้ำเสียทั้งหมดของบริษัท อย่างต่อเนื่อง รวมถึง จะติดตั้งและบำรุงรักษาระบบป้องกัน และ บำบัดน้ำเสีย ให้มีขนาดที่เหมาะสม และ มีประสิทธิภาพเพื่อให้มีสารปนเปือนในน้ำน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ก่อนปล่อยสู่ระบบสาธารณะ

การกำจัด และ ลดปริมาณกากของเสีย, บริษัท ฯ จะดำเนินการจัดการ กับ กากของเสีย โดย การลดกากของเสียที่แหล่งกำเนิด อย่างเป็นระบบ รวมถึง จัดเก็บ ขนถ่าย และ กำจัด อย่างถูกต้อง

การจัดการพลังงาน, บริษัท ฯ จะระบุแหล่งที่มาของแหล่งพลังงาน และ การใช้พลังงานทั้งหมด ทั้งในส่วนรอบนอก และ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตโดยตรง โดยบริษัท ฯ จะกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึง เงื่อนเวลา เพื่อใช้ปรับปรุงการใช้พลังงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ บันทึก ความคืบหน้าของผลที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

การปล่อยมลพิษสู่อากาศ, บริษัท ฯ จะตรวจสอบ และ บันทึกข้อมูลการปล่อยมลพิษสู่อากาศ ทั้งในส่วนรอบนอก และ จากกระบวนการผลิต นอกจากนี้ บริษัท ฯ จะติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการปล่อยมลพิษสู่อากาศ และ ดูแลบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม

 

5. การให้ของขวัญ การรับของขวัญ และการเลี้ยงรับรอง

บริษัท จะไม่เรียกร้อง หรือ รับของขวัญ หรือ ผลประโยชน์อื่นใดจากผู้ที่เกี่ยวข้อง กับ บริษัท

การรับของขวัญต้องไม่กระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่

ต้องหลีกเลี่ยงการรับของขวัญ ของกำนัล ที่มีมูลค่า เกินกว่า 5,000 บาท หากจำเป็นต้องรายงานบริษัททราบ

การให้ของขวัญ ของกำนัล และอื่นๆ ต้องมีความเหมาะสม ไม่เกินกว่า 5,000 บาท/ครั้ง และ ต้องให้ในนามบริษัทเท่านั้น

 

6. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือ ผลประโยชน์ทับซ้อน

พนักงาน จะปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และ ทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ

พนักงานต้องไม่ดำเนินการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือ ส่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

พนักงานต้องเปิดเผยความสัมพันธ์ หรือ สถานการณ์ใดๆ ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือ ผลประโยชน์ทับซ้อน กับ บริษัท ฯ ทันที

 

7. การบริจาคเพื่อการกุศล ต่อสังคมภายนอก

การบริจาคเพื่อการกุศล การสาธารณประโยชน์ และ การสนับสนุนเพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมต้อง เป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อศีลธรรม และ ไม่ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน

 

8. การให้เงินสนับสนุน

ต้องมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อธุรกิจ ภาพลักษณ์ ชื่อเสียงที่ดีของบริษัท ฯ เท่านั้น

ต้องเป็นการให้ในนามของบริษัท ฯ เท่านั้น

หลีกเลี่ยงการให้เงินสนับสนุนที่มีความเสี่ยง และ การถูกเชื่อมโยงไปให้เกี่ยวข้อง กับ การให้สินบน

 

9. การให้ความช่วยเหลือทางการเมือง

ยึดมั่นในความเป็นกลางทางการเมือง

ไม่มีนโยบายสนับสนุนพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรง หรือ ทางอ้อม

ห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด ทำการอนุมัติธุรกรรม ต่าง ๆ ในการสนับสนุนทางการเมือง

ผู้มีอำนาจอนุมัติธุรกรรมตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ไม่สามารถ อนุมัติธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือทางการเมืองได้

 

10.นโยบาย และ แนวทางปฏิบัติด้านการต่อต้านการทุจริต และ คอร์รัปชั่น การฉ้อโกง การรับ หรือ ให้สินบนในรูปแบบต่าง ซึ่ง มีเนื้อหาครอบคลุมการดำเนินการของบริษัท ในเรื่องดังต่อไปนี้

บริษัท ฯ จะจัดให้มีการประเมินความเสี่ยง ด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัท ฯ และ จัดทำมาตรการปฏิบัติที่สอดคล้องกับความเสี่ยงนั้น และ เป็นไปตามระบบควบคุมภายใน

บริษัท ฯ จะจัดทำขั้นตอนปฏิบัติที่เพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายนี้ เพื่อสามารถป้องกันการเกิดทุจริต และ คอร์รัปชั่นในการดำเนินธุรกิจ

บริษัท ฯ จะจัดให้มีการปฐมนิเทศ และ การฝึกอบรมให้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ และ ขั้นตอนปฏิบัติ ในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น

บริษัท ฯ จะจัดให้มีระบบควบคุมภายในเพื่อให้มั่นใจประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการเก็บบันทึกข้อมูลทางการเงิน การบัญชี และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของบริษัท ฯ 

บริษัท ฯ จะจัดให้มีการติดตามและการทบทวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริต และ คอร์รัปชั่น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่า นโยบายมีความครบถ้วน เพียงพอ และ ทันต่อสถานการณ์

บริษัท ฯ จะจัดให้มีช่องทางในการสื่อสารที่ปลอดภัยให้บุคลากรของบริษัท และ ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถขอคำแนะนำแจ้งเบาะแส ข้อเสนอแนะ หรือ ร้องเรียนกรณีเกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชั่น โดยมีมาตรการคุ้มครองสิทธิให้แก่บุคคลดังกล่าว

บริษัท ฯ จะจัดให้มีการสื่อสารนโยบายในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งภายใน และ ภายนอกบริษัท เพื่อให้ทราบถึงนโยบายของบริษัท ฯ ต่อ ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึง บริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม และตัวแทนทางธุรกิจ นำนโยบายในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัทไปปฏิบัติ

 

11.นโยบายการป้องกันการทุจริตในรูปแบบต่าง  

11.1นโยบายป้องกันการฟอกเงิน

บริษัท ฯ ยึดมั่นการประกอบธุรกิจกับลูกค้า และ คู่ค้า ที่น่าเชื่อถือ ซึ่ง ดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย โดยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 อย่างเคร่งครัด

บริษัท ฯ จะไม่สนับสนุน และ ไม่กระทำการใด ๆ เพื่อปกปิด หรือ อำพรางแหล่งที่มาของเงิน หรือ ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด และ ไม่ทำธุรกรรมใด ๆ ที่ อาจจะทำให้เงิน หรือ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดถูกแปรสภาพเปลี่ยนรูป หรือ ถูกแปลงเป็นทรัพย์สินอื่นที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฏหมาย

พนักงานต้องให้ความร่วมมือโดยปราศจากเงื่อนไข กับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการฟอกเงินในระบบธุรกิจ รวมทั้งปฏิบัติตามกฏหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินในระบบธุรกิจ รวมทั้งปฏิบัติตามกฏหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างเคร่งครัด

11.2 นโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา

11.2.1 บริษัทจะไม่ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไม่ว่าในรูปแบบใด ก็ตาม

11.2.2 ห้ามพนักงาน กระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท หรือ ของผู้อื่น และ ห้ามกระทำการใด ๆ อันฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฏหมายว่าด้วย ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่ง หมายความรวมถึง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า และ กฏหมายอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

11.3 นโยบายด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ ...คอมพิวเตอร์

11.3.1 ห้ามผู้บริหาร และ พนักงานเปลี่ยนแปลง ทำซ้ำ ลบทิ้ง หรือ ทำลายข้อมูลที่มีการป้องกันใด ๆ ของบริษัท ฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต

11.3.2 ห้ามผู้บริหาร และ พนักงานเผยแพร่ คัดลอก หรือ นำซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายมาใช้ และ ห้ามคัดลอกซอฟต์แวร์ลิขธิ์สิทธิ์ด้วยเหตุผลใด ๆ โดยมิได้รับอนุญาตจาก บริษัท ผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้น ๆ 

11.3.3 ห้ามผู้บริหาร และ พนักงาน ใช้ อีเมล์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ใด ๆ ของบริษัท ฯ ในการส่งต่อข้อความที่หยาบคาย ลามก ข่มขู่ ก่อกวน หรือ สร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น ตามมาตราที่ระบุไว้ใน “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550”

 

12.นโยบายการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน

คณะกรรมการบริษัทจะให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมทางการเงิน การดำเนินงาน และ การกำกับดูแลการปฏิบัติงาน โดยจัดให้มีการตรวจสอบให้คำแนะนำแก้ไขปรับปรุงระบบการทาน ตลอดจนตรวจติดตามผลการปฏิบัติงานของระบบเพื่อความมั่นใจว่าได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดอย่างมีประสิทธิผล

 

13.มาตรการการแจ้งเบาะแส และช่องทางการร้องเรียน กรณีพบ ประเด็น หรือ ข้อสงสัย

บริษัทฯ ได้จัดให้มีช่องทางการร้องเรียน และ การแจ้งเบาะแส หรือ กรณีพบ ประเด็น หรือ ข้อสงสัยซึ่งครอบคลุม ตั้งแต่การรับเรื่องร้องเรียน การตรวจสอบข้อเท็จจริง และการสรุปผล รวมถึงการคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับเรื่องร้องเรียน จากการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ เกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ และพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ โดยสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนได้โดย

13.1) แจ้งทางไปรษณีย์ ถึงผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซลโพลีแบค จำกัด

49/22 หมู่ 5 นิคมอุสาหกรรมแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230

13.2) แจ้งทางอีเมล์ HYPERLINK "mailto:mana.kulcharoen@universalpolybag.com" mana.kulcharoen@universalpolybag.com

13.3) แจ้งทางโทรศัพท์ (038) 494076-7 ต่อ 119

เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน ทั้งที่เป็นพนักงาน ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เป็นผู้แจ้ง จะได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งบริษัทฯให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเป็นความลับ และได้กำหนดขั้นตอนการรับเรื่องและการสอบสวนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าวจะรับรู้เพียงเฉพาะในกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบเท่านั้น หากข้อมูลความลับดังกล่าวถูกเปิดเผย บริษัทฯจะติดตามสอบสวนหาบุคคลที่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวและมีบทลงโทษผู้ที่กระทำการดังกล่าว

   

                                                                                       

 

14 การสื่อสารและการสร้างความตระหนัก

การสื่อสารและการสร้างความตระหนักไปยังพนักงาน และ ผู้มีส่วนได้เสีย บริษัท ฯ จะดำเนินการสื่อสาร อบรม และ สร้างความตระหนักตามนโยบายเกี่ยวกับจริยธรรมทงด้านธุรกิจ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีให้ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัททุกคน ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ

 

15.การประเมินผลการดำเนินงาน และ การทบทวน เพื่อปรับปรุง

บริษัท ฯ จะกำหนดวิธีการในการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่านโยบายทางด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจของบริษัท จะถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการในการประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางดังต่อไปนี้

15.1 ผู้บริหาร มีหน้าที่ ทบทวนแนวทางการปฏิบัติงานที่อาจจะส่งผลกระทบให้เกิดการปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องตามนโยบายจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เพื่อนำไปสู่การดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขต่อไป

15.2 บริษัท ฯ กำหนดให้ ทีมผู้ตรวจติดตามระบบมาตรฐานแรงงานไทย (Internal Audit) รับผิดชอบการตรวจประเมินระบบตามวาระ เพื่อให้มั่นใจว่า มีการดำเนินการสื่อสาร อบรม และ สร้างความตระหนักให้แก่พนักงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจ และ สามารถ นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และ มีการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ไปยังผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ฯ อย่างครบถ้วน หากพบความไม่สอดคล้อง บริษัท ฯ จะดำเนินการแก้ไขและป้องกันตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้

15.3 การตรวจประเมินโดยลูกค้า หรือ บริษัทผู้ตรวจประเมินซึ่งเป็นตัวแทนของลูกค้า หรือ การตรวจติดตามจากองค์กรผู้ให้การรับรองตามวาระ บริษัท ฯ จะนำผลการตรวจประเมิน 

16. การปรับปรุงคู่มือจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

บริษัท มีนโยบายที่จะติดตามความก้าวหน้าของคู่มือจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจในระดับสากล และ ทำการปรับปรุงคู่มือจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจเป็นระยะ เพื่อให้ มีความทันสมัย และ เหมาะสมตลอดเวลา

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะยึดถือปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรม การดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับให้ความสำคัญ และ มีจิตสำนึกในการร่วมกันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้งจัดให้มีระบบควบคุมภายในเพื่อป้องกันการทุจริต การรับ หรือ ให้สินบนในทุกรูปแบบ